ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานตัวเลขเศรษฐกิจการเงินเดือน พฤษภาคม 2566 โดยหนึ่งในช่วงของการรายงาน พบข้อมูลน่าสนใจเรื่องของหนี้ครัวเรือน โดย ธปท.ได้ทำการปรับปรุงสถิติเงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือนให้ครบถ้วนครอบคลุมมากขึ้น โดยคลอบคลุมผู้ให้กู้ 4 กลุ่ม คือ

 หนี้ กยศ. ดันหนี้ครัวเรือนพุ่งแตะ 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี

1.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

2.สหกรณ์อื่นๆ (ที่ไม่ใช่สหกรณ์ออมทรัพย์)

3.การเคหะแห่งชาติ

และ 4.พิโกไฟแนนซ์

ซึ่งทั้ง4 กลุ่ม โดยยอดหนี้แต่ละกลุ่ม ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 คือ

  • กยศคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. 4.83 แสนล้านบาท
  • สหกรณ์อื่น ๆ (ที่ไม่ใช่สหกรณ์ออมทรัพย์) 2.65 แสนล้านบาท
  • การเคหะแห่งชาติ 1.1 หมื่นล้านบาท
  • พิโกไฟแนนซ์ 6 พันล้านบาท

ซึ่งธปท. มีข้อมูลของกลุ่มผู้ให้กู้เหล่านี้ ตั้งแต่ปี 2555 จึงปรับข้อมูลย้อนหลังไปถึงไตรมาส 1 ปี 2555

และจากการรวมทั้ง 4 กลุ่ม เข้ามาทำให้ยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากชุดข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่นี้ เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้ว ไม่ใช่หนี้ที่เพิ่งเกิดใหม่ โดย ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 มียอดหนี้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น 7.66 แสนล้านบาท และส่วนใหญ่เป็น

  • หนี้เพื่อการศึกษา 4.85 แสนล้านบาท
  • หนี้เพื่อการประกอบอาชีพ 1.83 แสนล้านบาท

ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนหลังปรับปรุงมียอดคงค้าง 16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.6% ต่อจีดีพี เพิ่มขึ้นจากข้อมูลก่อนปรับปรุง 4.3% ต่อจีดีพี

นอกจากนี้ โครงสร้างสัดส่วนที่จำแนกตามวัตถุประสงค์การกู้ยืมไม่แตกต่างจากข้อมูลก่อนปรับปรุง

ไทยเผชิญปัญหาหนี้เสียพุ่ง 4% พบ 3 แบงก์ไทย เป็น NPL สูงที่สุด

ลิสซิ่งเข้มงวดก่อนปล่อยสินเชื่อรถ หลังหนี้เสียพุ่ง

ขณะเดียวกัน เมื่อดูข้อมูลย้อนหลังของหนี้ครัวเรือน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า หนี้ครัวเรือนเคยพุ่งขึ้นไปสูงถึง94.3% ต่อจีดีพี คิดเป็นยอดหนี้ 15.3 ล้านล้านบาท จากนั้นค่อยๆ ลดระดับลงมา จนล่าสุด ไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 90.6% ต่อจีดีพี แต่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเป็นราว 16 ล้านล้านบาท รวมถึงตัวเลขหนี้แต่ละประเภทก็ไม่ได้ลดลงเลยเช่นกัน

By admin